นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความเข้าใจ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ โครงการศึกษาแนวทางและจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความเข้าใจ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ โครงการศึกษาแนวทางและจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความเข้าใจ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ โครงการศึกษาแนวทางและจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยนายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง หัวหน้าสำนักงานบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน กล่าวรายงาน ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ในวันอังคารที่ 5 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยกำหนดให้เป็นองค์กรอิสระจากการกำกับกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีโครงสร้างองค์กรที่มีความคล่องตัวและเหมาะสมสำหรับดำเนินกิจการระบบรถไฟความเร็วสูง รวมถึงการกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการสนับสนุนด้านบุคลากรและงบประมาณ โดยไม่เป็นภาระผูกพันต่องบประมาณรัฐ สามารถวางแผนและควบคุมให้โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
กระทรวงคมนาคม จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาแนวทางและจัดทำรายละเอียด การจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน ดังนี้
1. ศึกษาแนวทางการจัดตั้งองค์กรกำกับรถไฟความเร็วสูงที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ
2. ศึกษาประเด็นข้อกฎหมายของประเทศไทย แนวทางการจัดตั้งองค์กร แนวทางการระดมทุน รูปแบบโครงสร้างผู้ถือหุ้น และแนวทางการร่วมลงทุน
3. ศึกษาโครงสร้างธุรกิจและโอกาสทางการตลาด
4. วิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) ของโครงการรถไฟความเร็วสูง (รวมทุกเส้นทาง)
5. นำเสนอโครงสร้างขององค์กรและบุคลากร ขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ
6. จัดทำแผนการจัดตั้งองค์กรพิเศษ
7. จัดทำแผนการหารายได้จากธุรกิจเดินรถและธุรกิจรอง
8. กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
9. กำหนดตัวชี้วัดเพื่อกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน
10. ดำเนินการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนักลงทุนถึงรูปแบบการจัดตั้งองค์กรพิเศษ
การจัดประชุมในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูล วัตถุประสงค์ของโครงการฯ พร้อมนำเสนอแนวทาง การพิจารณาและกำหนดรูปแบบความเป็นไปได้ขององค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยและให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ จึงมุ่งเน้นให้ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงมีความเหมาะสม ลดภาระงบประมาณของรัฐได้ เป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาระบบด้านอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทยอย่างยั่งยืน

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link