ศรีสะเกษ !! ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงพื้นที่ขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตาโกน

ที่ศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตาโกน สำนักสงฆ์บ้านขะบา อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และคณะ ได้ลงพื้นที่ขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตาโกน โดยมีนายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต นายนพ พงศ์ผลาดิสัย และนางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายนรินทร์ อร่ามโชติ นายอำเภอเมืองจันทร์ ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังวัดศรีสะเกษและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดและอำเภอ นำข้าราชการและประชาชนร่วมให้การต้อนรับและร่วมบรรยายสรุปการดำเนินการของศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตาโกน สำนักสงฆ์บ้านขะบา และนำเยี่ยมชมการจัดนิทรรศการผ้าพื้นเมืองศรีสะเกษ เยี่ยมชมนิทรรศการสถาศึกษาและกิจกรรมโคก หนอง นา โมเดลศรีสะเกษ ตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย

และเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ตามโครงการ MOU เกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ในการดำเนินกิจกรรมทางด้านการเกษตร ฝึกปฏิบัติผ่านกิจกรรมสาธิตแบบมีส่วนร่วม ประสานความร่วมมือภาครัฐ เอกชนชุมชน สถานศึกษา ภาคีเครือข่าย รวบรวมผู้มีความรู้ด้านต่างๆ มาพบปะ พูดคุยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเครื่อข่ายสมาชิกและคนในชุมชน เพื่อสร้างโอกาสและส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์รวมด้านจิตใจ และเป็นที่พึ่งของสังคม ชุมชน ประชาชนได้รับโอกาสในการประกอบสัมมาชีพอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของประชาชน ทั้งในระดับชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัดศรีสะเกษต่อไป
นายนรินทร์ อร่ามโชติ นายอำเภอเมืองจันทร์ กล่าวว่า เมื่อปี 2557 เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร และท่านเจ้าคุณพระมงคลวชิรากร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ได้ดำเนินการริเริ่มจัดตั้งให้การสนับสนุนโดยร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ในการชับเคลื่อนและจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ ให้เกิดจากการรวมกลุ่มของสมาชิกเกษตรกรในพื้นที่ อบรมในด้านการส่งเสริมอาชีพ พัฒนาแหล่งน้ำ การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพและการปลูกผักสวนครัว เน้นการพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีการจัดตั้งคณะกรรมการประจำศูนย์ฯ มีสมาชิกจำนวน 50 คน โดยมีแผนดำเนินงานขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ฯ จัดทำเป็นศูนย์รวบรวมผลผลิตของสมาชิกและจัดจำหน่าย ส่งเสริมให้มีการทำการตลาดออนไลน์ จัดทำเส้นทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จัดทำและรวบรวมองค์ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ในสื่อสังคมออนไลน์พัฒนาศูนย์เรียนรู้ ให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพปลอดภัยและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตอย่างยั่งยืน
นายอำเภอเมืองจันทร์ กล่าวต่อไปว่า อำเภอเมืองจันทร์ มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีผลผลิตที่สำคัญคือส้มโอ 4 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ ทับทิมสยาม ทองดี ขาวน้ำผึ้ง และขาวแตงกวา(ขาวใหญ่/แดงเวียดนาม) มีพื้นที่ปลูกประมาณ 150 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตำบลตาโกน ผลผลิตเฉลี่ย 3-6 พัน ก.ก/ไร่ ข้าวหอมมะลิ พื้นที่ปลูก 43,644 ไร่ เพาะปลูกโดยอาศัยน้ำฝนทั้งหมดผลผลิตเฉลี่ย 44 ก.ก./ไร่ พริก พื้นที่ปลูก 400 ไร่ พันธุ์ที่ปลูก พริกจินดา/พริกสน ผลผลิตเฉลี่ย 1,600 ก.ก/ไร่ หอมแดง พื้นที่ปลูก 300 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,000 ก.ก./ไร่ โดยศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง แห่งนี้ จะแบ่งเป็นฐานเรียนรู้ จำนวน 8 ฐานเรียนรู้ ได้แก่ ฐานคนรักษ์ป่า เกี่ยวกับการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ฐานคนเอาถ่านสาธิตการเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ ฐานคนรักษ์สุขภาพ ให้ความรู้การปลูกพืชสมุนไพร เพื่อรักษาโรคเบื้องต้น การทำลูกประคบสมุนไพร ฐานอาหารโปรตีนสัตว์น้ำ ให้ความรู้การทำอาหารโปรตีนสัตว์น้ำ กบเลี้ยง แหนแดง ฐานคนรักษ์แม่ธรณี จะเกี่ยวกับการดูแลรักษาดิน การห่มดินหรือคลุมดิน การสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำน้ำหมักชีวภาพ ฐานคนมีน้ำยาสาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน ฐานแปลงสาธิตการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขยายผลไปสู่บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเองซอยนี้มีรักปลูกผักแบ่งปัน ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน และฐานเรียนรู้การตอนกิ่งมะนาว ให้ความรู้การตอนกึ่งมะนาวและต้นไม้อื่นๆ โดยมีสมาชิกเครือข่ายศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 52 คน เป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละฐานการเรียนรู้ที่ผ่านมา ส่วนราชการทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ นำโดยมีนายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ส่งเสริมสนับสนุนภารกิจกิจกรรม ของศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่างๆ ให้แก่สมาชิกเครือข่ายศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง การจัดประชุมอบรมให้กับกลุ่มสมาชิกเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ประชาชนในพื้นที่ตำบล อำเภอต่างๆ และสมาชิกเครือข่ายโคก หนอง นาเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอ/จังหวัด และสถานศึกษาในพื้นที่ มาใช้สถานที่ในการอบรม ศึกษา เรียนรู้อาทิ เช่น๑. โครงการถังขยะเปี๊ยกลดโลกร้อนของ อบต.ตาโกน โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง และโครงการทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน โครงการจิตอาสาเอามื้อสามัคคี ทำความดีถวายในหลวง โครงการรณรงค์ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก และป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ยุงลาย โครงการ นุ่งผ้าไทย ใส่บาตร เกื้อหนุน ปันบุญ ปันรัก โครงการสร้างการรับรู้และสร้างเครื่อข่ายเกษตรกรปลอดการเผาในพื้นที่การเกษตร และโครงการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต โคกหนอง นา โมเดล ของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุนบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป

ข่าว/ภาพ …. บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

Leave a Reply

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com
Share via
Copy link